วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

บทที่ 2 การศึกษาความเป็นไปได้

2.1 ศึกษาปัญหาของระบบ
จากการศึกษาปัญหาของระบบการจองห้องประชุมและการจองยานพาหนะมีดังนี้
1.ไม่สะดวกในการใช้งานเนื่องจากระบบยังเป็นแบบการบันทึกด้วยมือ ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้าและไม่สะดวกในการใช้งาน

2.ไม่สะดวกในการสืบค้นข้อมูลย้อยหลัง เพราะยังเป็นระบบที่ทำการบันทึกด้วยสมุดลงรายการจองห้องประชุมและยานพาหนะ
3.ข้อมูลสูญหายได้ง่ายเนื่องจากเป็นยังคงเป็นการบันทึกเอกสารด้วยกระดาษ

2.2แนวทางการแก้ปัญหา
แนวทางที่ 1
1.ปรับปรุงระบบการจองห้องประชุมและการจองยานพาหนะ โดยการนำโปรแกรมประยุกต์ Microsoft Excel มาใช้ในการจัดเก็บเอกสารการจองห้องประชุมและยานพาหนะและ รายชื่อลูกค้า ระยะเวลาในการจอง บันทึกระยะเวลเริ่มต้นในการจอง สิ้นสุดการใช้บริการ ประวัติของลูกค้า การคำนวนค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องชำระ การสรุปยอดการจอง วัน เดือน ปี ที่ทำการจอง
แนวทางที่ 2
นำโปรแกรมประยุกต์ในการบริหารจัดการระบบการจองห้องประชุมและยานพาหนะ มาใช้ในการจัดเก็บรายชื่อลูกค้า
บันทึกระยะเวลาการจอง วันเดือนปีที่จอง ขนาดห้องประชุมและยานพาหนะ ค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องชำระ
การสรุปยอดการจอง
แนวทางที่ 3
พัฒนาโปรแกรมการจองห้องประชุมและยานพาหนะ โดยการใช้โปรแกรม Visual Basic 6.0 และจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้าด้วยโปรแกรม My SQL เพื่อนำมาใช้ในการจัดเก็บรายชื่อลูกค้า การคำนวนค่าใช้จ่ายที่ผู้ใชบริการจะต้องชำระ การสรุปยอดรายการต่างๆ
2.3 การประเมินแนวทางที่เสนอ
.1 ความเหมาะสมทางด้านเทคโนโลยี
แนวทางที่ 1 ปัจจัยต่างๆทางด้านเทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะดำเนินการตามแนวทางที่เสนอ
แนวทางที่ 2 ปัจจัยต่างๆทางด้านเทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะดำเนินการตามแนวทางที่เสนอ
แนวทางที่ 3 ปัจจัยต่างๆทางด้านเทคโนโลยี มีความพร้อมทีจะดำเนินการตามแนวทางที่เสนอ
.2 ความเหมาะสมทางด้านการปฎิบัติงาน
แนวทางที่ 1 สามารถทำได้สะดวก ติดตั้งได้ง่าย เป็นที่ยอมรับ
แนวทางที่ 2 สามารถทำได้สะดวก ติดตั้งได้ง่าย เป็นที่ยอมรับ
แนวทางที่ 3 เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
.3 ความเหมาะสมทางด้านการลงทุน

ตารางที่ 2.1 ประมาณต้นทุนกำไร



ตารางที่ 2.2 ประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับแนวทางต่าง ๆ



ตารางที่ 2.3 วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของแนวทางที่ 1



ตารางที่ 2.4 วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของแนวทางที่ 2



ตารางที่ 2.5 วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันของแนวทางที่ 3



วิเคราะห์ระยะเวลาในการคืนทุน
แนวทางที่ 1 ระยะเวลาในการคืนทุน 3 ปี
แนวทางที่ 2 ระยะเวลาในการคืนทุน 5 ปี
แนวทางที่ 3 ระยะเวลาในการคืนทุน 4 ปี

เลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
ทั้ง 3 แนวทางเป็นแนวทางที่เหมาะสมทางด้านเทคโนโลยี ด้านการปฎิบัติและด้านการลงทุน แต่เมื่อมาพิจรณาแนวทางทั้ง 3 พบว่า แนวทางที่ 1 และ แนวทางที่ 3 มีระยะเวลาในการคืนทุนที่ใกล้เคียงกัน แต่แนวทางที่ 1 ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า แนวทางที่ 3 แต่เมื่อมาพิจรณาแล้วแนวทางที่ 3 น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมมากกว่า เนื่องจากแนวทางที่ 3 มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดีกว่า จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาระบบการจองห้องประชุมและยานพาหนะ

ไม่มีความคิดเห็น: